นครหาดใหญ่

บนฐานทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของชุมชน

นครหาดใหญ่

ความสำคัญเชิงพื้นที่ศึกษา

ครอบครองทรัพยากรต่างๆ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้น การเติบโตของเมืองเป็นจำนวนมาก อาทิ ความ หลากหลายของผู้คนทางเชื้อชาติและศาสนา ทั้งไทยพุทธ มุสลิม และจีน การเป็นศูนย์กลางการ เรียนรู้การเป็นศูนย์กลางสินค้าราคาถูกและความบันเทิงต่างๆ ที่ดึงดูดของนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวตา่งประเทศ

คุณค่าที่มีอยู่ของนครหาดใหญ่

ที่งานวิจัยค้นเจอ

ทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสได้

Tangible Cultural Capital

อาคาร/สถาปัตยกรรมต่างๆ ได้แก่

อาคารรูปทรงสถาปัตยกรรม Chino-Portuguese Architectureบริเวณถนนนพิทัธ์อุทิศ 1

วัดฉื่อฉาง ( โดดเด่นเชิงสถาปัตยกรรมจีน และศิลปะ ผสมผสานธิเบตไทยจีน )

วัดถาวรวราราม ( มีความโดดเด่นเชิงสถาปัตยกรรมจีน )

ศาลเจ้าตระกลูแซ่ต่างๆ

การแต่งกาย ได้แก่ ผ้าปาเต๊ะ

ทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้

Intangible Cultural Capital

อาหาร ประกอบด้วย อาหารจีน อาหารไทย และ อาหารฮาลาล ซึ่งมีรสชาตที่โดดเด่น และเป็นรู้จักทั่วไป โดยเฉพาะไก่ทอดหาดใหญ่และเม็ดมะม่วงหิมพานต์

ประเพณี เช่น

เทศกาลตรุษจีน

เทศกาลไหว้พระจันทร์

เทศกาลกินเจ

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

ความเชื่อความศรัทธา ได้แก่ การไหว้เจ้า

วิถีชีวิต ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิตประจาวัน เช่น

ดนตรี

การใช้อักษรจีน

โจทย์วิจัย

นครหาดใหญ่มีทุนทางวัฒนธรรมใด บ้างที่สามารถใช้ เป็น“ทุน”ในการพลิก ฟื้นเศรษฐกิจเมืองได้?
จะสร้างผู้ประกอบการ/ผลติภัณฑ์/นวัตกรรมทางวัฒนธรรมใดได้บ้างที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจฐานราก และพัฒนาสู่ความยั่งยืน (วิสาหกิจฐานวัฒนธรรม) ได้
จะใช้ “วัฒนธรรม” ในการฟื้นใจเมืองหาดใหญ่อย่างไร(จากเดิมที่แตกกระเจิงพัฒนาเป็นกลุ่มก้อนแยกส่วน) ภายใต้ความร่วมมือของภาคี 5 ส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ศิลปิน ชุมชน

ขอบเขตเชิงพื้นที่

เน้นการปฏิบัติิการในพื้นที่ใจกลางของ เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยเรียกว่า นครหาดใหญ่ ” เป็นเสมือนศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ โดยครอบคลุมพื้นที่ 4 ชุมชน ได้แก่
ชุมชนกิมหยงสันติสุข
ชุมชนพระเสน่หามนตรี
ชุมชนแสงศรี
ชุมชนท่งเซียเซี่ยงตึ้ง
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มที่มีทุนทางวัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นโดยเชื่อว่าการกระตุ้นชีพจรของเมือง ควรเริ่มจากจุดศูนย์กลาง

ตัวอย่างแผนกิจกรรมที่จะทำให้โครงการยั่งยืนต่อไป

และขอรับการสนับสนุนจากเทศบาลนครหาดใหญ่

ขยายขอบเขตการศึกษา “ทุนทางวัฒนธรรม”
ที่ส่งเสริมพหุวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมงคลใน

ไทยมุสลิม
ไทยซิกข์
ไทยพุทธ
ไทยจีน
ในพื้นที่นครหาดใหญ่

พื้นที่เรียนรู้นครหาดใหญ่ผ่าน หลักสูตรของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล นครหาดใหญ่ โดยบรรจุในรายวิชา “หาดใหญ่บ้านเรา” โดยให้วัด ศาลเจ้า ชุมชน และเครือข่าย วัฒนธรรม โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชุมชน มีส่วนร่วมพัฒนากิจกรรมในรายวิชา และส่งเสริมเยาวชนเป็นมัคคุเทศก์น้อย

ส่งเสริมกิจกรรมวัฒนธรรมในพื้นที่นครหาดใหญ่ เช่น

การจัดถนนวัฒนธรรมประจำเดือน
เทศกาลของกิน
เทศกาล Eat Pray Love@Hatyai
การจัดจุด Check in สัญลักษณ์เมืองหาดใหญ่
การจัดแสงสีหอนาฬิกา ฯลฯ

การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) ส่งเสริมการเรียนรู้ของเมืองในจุดสำคัญ

การพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมและส่งเสริม ผู้ประกอบการวัฒนธรรมรุ่นใหม่ ร่วมกับ เครือข่ายศิลปิน